วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ประวัติเมืองบางขลัง

ประวัติศาสตร์เมืองบางขลัง

          เมืองบางขลังปัจจุบันเป็นชื่อชุมชน ตั้งอยู่ริมลำน้ำฝากระดาน มีชุมชนใหญ่ ๆ  ชุมชน คือ ตำบลหนองกลับ และตำบลเมืองบางขลัง อยู่ในความปกครองของอำเภอ สวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย 
          เมืองบางขลังเป็นชุมชนเก่าแก่รวมสมัยกับเมืองเชลียง   มีอายุระหว่าง 700 ปี  ถึง 1,000 ปีขึ้นไป ตั้งอยู่ริมลำน้ำฝากระดานซึ่งมีต้นกำเนิดลำน้ำมาจากตำบลเวียงมอก อำเภอ เถิน  จังหวัดลำปาง  ดังปรากฎหลักฐานทางประวัติศาสตร์อยู่ในศิลาจารึกสุโขทัย   หลักที่ 2  วัดศรีชุม ด้านที่ บรรทัดที่ 24 เป็นเรื่องการขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพงออกจากเมืองสุโขทัยศิลาจารึกบรรยายว่า พ่อขุนผาเมืองตีได้เมืองบางขลังและสุโขทัยได้แล้ว    จึงสถาปนาพ่อขุนบางกลางหาวให้เป็นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ปฐมกษัตริย์ครองกรุงสุโขทัย ดังนี้
          ศิลาจารึก บรรทัดที่ 23   พ่อขุนผาเมืองเจ้าเมืองราดเอาพลมา
          ศิลาจารึก บรรทัดที่ 24   ตบกันที่เมืองขลง  ได้เวนบางขลงแก่พ่อขุนผาเมือง 
                              แล้วพ่อขุนผาเมืองได้เอาพลเมือ เมืองราดเมืองสคา  
(ที่มา ดรรชนีค้นคำในศิลาจารึกสุโขทัย หน้า 102 กับจารึกสมัยสุโขทัย หน้า 63)

          นอกจากนี้ศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ วัดศรีชุม ด้านที่ บรรทัดที่ บรรยายว่า  สมเด็จพระศรีศรัทธาราชจุฬามุนี เสด็จออกบวชแล้วจาริกแสวงบุญไปยังปูชนียสถานต่าง ๆ โดยเริ่มต้นจากเมืองสุโขทัย ไปเมืองบางขลัง แล้วถึงเมืองศรีสัชนาลัย(จารึกสุโขทัย หน้า 72) แสดงให้เห็นว่า เมืองโบราณอยู่ริมถนนพระร่วงระหว่างสุโขทัยและเมืองศรีสัชนาลัยจะเป็นเมืองอื่นใดมิได้ นอกจากเมืองบางขลัง
          ศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ ด้านที่ บรรทัดที่ 22 บรรยายว่า  หลังจากสมัยพ่อขุนรามคำแหงแล้ว เจ้าเมืองต่าง ๆ ตั้งตนเป็นอิสระ รวมทั้งเมืองบางขลังด้วย  ดังจารึกต่อไปนี้     "เมืองบางฉลังหาเป็นขุนหนึ่ง
ที่มา :  จารึกสุโขทัย หน้า 37  

          ประวัติศาสตร์นิพนธ์ล้านนาประกอบไปด้วยหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์     ตำนาน
มูลศาสนา ตำนานวัดพระธาตตุดอยสุเทพ ตำนานวัดบุปผาราม (วัดสวนดอกและพงศาวดารโยนก ต่างบันทึกถึงประวัติการค้นพบพระธาตุใต้กอดอกเข็มบริเวณเมืองโบราณ  ที่อยู่ระหว่างเมืองศรีสัชนาลัยกับเมืองสุโขทัย (สงวน โชติสุขรัตน์ หน้า22-29 และอนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพพระเทพวิสุทธาจารย์ พ.. 2525 ไม่ปรากฎเลขหน้า)ผู้เขียนสันนิษฐานว่าคือ บริเวณเมืองบางขลัง ในศิลาจารึกสุโขทัยดังที่กล่าวอ้างอิงมาข้างต้นนั้นแล้ว ผู้เขียนยังไม่ทราบสาเหตุว่าทำไมจึงไม่บันทึกว่า เมืองบางขลัง  เข้าใจว่าภิกษุล้านนาคงบันทึกต่อ ๆ  กันมาผิดพลาดทำให้คำว่า บางขลัง กลายเป็นบางจา ไป 
         นายประเสริฐ  นุตาลัย เสนอความเห็นว่า คำว่า บางขลังหรือบางฉลัง ในจาริกสุโขทัยนั้น  ชาวล้านนาจะออกเสียง  บาง-จะ-หลัง  เสียงอักษร ช.ช้าง  จะออกเสียงเป็น  จ.จาน เสมอ ฉะนั้นบางฉลัง ชาวเชียงใหม่คงจะออกเสียงเป็น บาง-จะ-หลัง ภายหลังคัดลอกตกหล่นเหลือเพียง บางจา เป็นการอธิบายที่น่ารับฟังอย่างมาก ขอฝากไว้ให้นักนิรุกติศาสตร์วิเคราะห์ต่อไปด้วย
          การที่พระมหาสุมนเถร ภิกษุชาวมลฑลเชลียง    นำพระธาตุจากเมืองบางขลังไปถวายพระเจ้ากือนา กษัตริย์แห่งมลฑลล้านนา เมื่อปี พ.. 1913  พระมหาสุมนเถรสั่งให้จารึกประวัติการขึ้นไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาให้ล้านนาประเทศลงในแผ่นศิลาปักไว้ที่วัดพระยืนเมืองหริภุญไชย   จังหวัดลำพูน   และได้ขอให้พระเจ้ากือนาแต่งตั้งให้หลานชายของพระมหาสุมนเถร ได้รับพระราชทานตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองตาก พระมหาสุมนเถรได้ปฎิบัติภารกิจประวัติศาสตร์ของชาวมลฑลเชลียงไว้ได้ดีเป็นอย่างยิ่ง     นอกจากจะสร้างจารึกภาษาไทยอักษรสุโขทัยไว้ในมลฑลล้านนาเมื่อ  622 ปีแล้ว  นับจาก พ.. 1913 ถึง  พ.. 2535  ยังปรากฎเจดีย์ทรงดอกบังตูมอันเป็นเอกลักษณ์ของศิลปมณฑลเชลียงอยู่ในวัดบุปผาราม   (สวนดอก)ที่พระเจ้ากือนา   อุทิศป่าต้นดอกพยอมถวายเป็นพุทธบูชาตลอดทั้งถวายสมณศักดิ์ให้พระมหาสุมนเถรดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสเป็นรูปแรกอีกด้วย พระมหาสุมนเถรได้แบ่งพระธาตุ ที่พบ ณ เมืองบางขลังส่วนหนึ่งบรรจุไว้ที่วัดสวนดอก  อีกส่วนหนึ่งพระเจ้ากือนาทรงสร้างสถูปบรรจุไว้ไว้บนยอดดอยสุเทพ ปัจจุบันคือวัดพระธาตุดอยสุเทพ น่าเสียดายที่เจดีย์ทรงดอกบัวตูมวัดสวนดอกเหลืออยู่แต่ในรูปภาพเก่าเท่านั้นเพราะราว ๆ
..2470  ครูบาศรีวิชัยได้บูรณะวัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่  แล้วรื้อสถูปเปลี่ยนรูปทรงเจดีย์ดอกบัวตูมจนสูญสลาย หลักฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะของมณฑลเชลียงไป  เหลือเพียงเจดีย์ทรงดอกบัวตูมของวัดธาตุกลางวัดร้างบริเวณทิศใต้ของ กำแพงเมืองเชียงใหม่เพียงองค์เดียว  ที่ปัจจุบันนี้ยังคงหลงเหลือเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ว่า   ศิลปมณฑลเชลียงแพร่ขึ้นไปถึงใจกลางเมืองหลวงของมณฑล ล้านนา 
          ผู้เขียนตรวจดูจดหมายเหตุล้านนาที่พูดถึงดอกเข็ม  อันเป็นสถานที่บรรจุพระธาตุ ณ เมืองบางขลัง ก่อนที่พระมหาสุมนเถรจะอาราธนาขึ้นมาจากพื้นปฐพีแล้วไม่ปรากฎว่าเป็นต้นดอกเข็มสีอะไร เพื่อเป็นการเชิดชูพระพุทธศาสนา จังหวัดสุโขทัย  สมควรกำหนดให้ดอกเข็มสีเหลืองอันเป็นสีแห่งผ้ากาสาวพัตร์ของสาวกพระพุทธองค์เป็นดอกไม้ประจำจังหวัด ดังผู้เขียนได้เสนอให้ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดสุโขทัย เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2534 รับไปเผยแพร่ประชา-สัมพันธ์ต่อไปแล้ว นอกจากนั้นดอกเข็มยังเป็นดอกไม้มงคล ประเพณีไทยนับถือนิยมนำไปสักการะครูบาอาจารย์มาแต่โบราณ จึงเป็นการเหมาะสมอย่างยิ่ง  ประการสำคัญเกียรติยศนี้เป็นของ ชาวเมืองบางขลังผู้เป็นเจ้าของเรื่องราวบุปผาชาติประจำจังหวัดสุโขทัย
          ตลอดสมัยอยุธยา ไม่ปรากฎหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรกล่าวถึงเมืองบางขลัง แต่สันนิษฐานต้องมีชุมชนเมืองบางขลัง  เพราะปรากฎหลักฐานในเสภาขุนช้างขุนแผนกล่าวถีง นายบุญ มีตำแหน่งเป็นขุนไกรนายด่านท่าเกวียนแขวงเมืองสวรรคโลก ได้ส่งใบบอกท้ารบจากพระเจ้าเชียงใหม่เข้าไปให้ พญาเกษตรสงครามรามราชแสนยาธิบดีศรีสัชนาลัยอภัยพิริยพบรากรมพาหุ  พญาสวรรคโลก   ด่านบ้านท่าเกวียนนั้นน่าจะได้แก่บริเวณหอรบ หมู่ที่ บ้านแม่บ่อทอง ตำบลกลางดง อำเภอทุ่งเสลี่ยม ปัจจุบันบ้านท่าเกวียนเป็นชื่อหมู่บ้านสุดท้ายของมณฑลล้านนาอยู่ในความปกครองของตำบลเวียงมอก  อำเภอเถิน  จังหวัดลำปาง โดยมีหอรบเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างจังหวัดสุโขทัยกับจังหวัดลำปาง   (ดูประวัติศาสตร์อำเภอทุ่งเสลี่ยมประกอบด้วย)

           เมืองบางขลังสมัยรัตนโกสินทร์

          เมื่อเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก  (ทองด้วง)   ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์จักรีได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เจ้าเมืองต่าง ๆ ในมณฑลเชลียง    สำหรับเมืองสวรรคโลกโปรดเกล้า ฯ พระราชทานยศขุนด่านให้เลื่อนขึ้นเป็นพระสวรรคโลก     ซึ่งเป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์เมืองสวรรคโลกที่มีตำแหน่งเจ้าเมืองเป็นพระ ยศสูงกว่าขุนต่ำกว่า พญา ผู้เขียนเข้าใจว่า ตำแหน่งพลหรือตำแหน่งหน้าที่กลาโหมประจำเมืองสวรรคโลก  ต้องมีความสำคัญมากดังการข่าวเรื่องท้ารบในเสภาขุนช้างขุนแผน  ขุนด่านเมืองสวรรคโลก เป็นบุคคลแรกที่รู้ราชสาส์นการท้ารบจากพระเจ้าเชียงใหม่ แล้วรีบส่งข่าวให้พญาสวรรคโลก ๆ ทูลเกล้า ฯ ถวายการศึกแด่พระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาทันที  ดังปรากฎว่าพันมโนราช  และ ไพร่ผีพายรีบออกเรือจากเมืองสวรรคโลกเก่าล่องตามลำแม่น้ำยมไปรุ้งเช้าที่บ้านท่าเกษม   ตำบลเมืองบางยม ผ่านบ้านกรุ ตำบลสามเรือน อำเภอศรีสำโรง วัดใหม่ ซึ่งเดิมเรียกชื่อ วัดใหม่ไพร่ประชุมพล ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อเป็นวัดไทยชุมพล หมู่บ้านบางแก้ว ตำบลธานี  อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ดังเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนที่ 27 พลายงามอาสา
          นักเรียนพึงสำเนียกทราบไว้ด้วยว่า   เสภาขุนช้างขุนแผนเล่าเรื่องครั้งกรุงศรีอยุธยา แต่ต้นฉบับเสภาขุนช้างขุนแผนฉบับปัจจุบันแต่งซ่อมใหม่ให้สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์  จึงปรากฎชื่อวัดใหม่ไพร่ประชุมพล ที่เพิ่งเริ่มสร้างขึ้นใหม่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
          ผู้เขียนสันนิษฐานว่า   บิดาของเจ้าพญารัตนาพิพิธ (สนสมุหนายกสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกคงจะได้ดำรงตำแหน่งนายด่านสำคัญนี้ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายดัง ก...กุหลาบ เขียนประวัติไว้ว่า นายกำแหง(สุ่นเป็นตำแหน่งขุนพลกรมการด่านเมืองสวรรคโลกครั้งกรุงเก่า (การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี หน้า 211)คงเป็นด้วยเหตุดังนี้ จึงมีการสืบทอดอำนาจและตีแปลงขยายอิทธิพลจากขุนด่านชายขอบเมืองสวรรคโลกขึ้นมาเป็นพระสวรรคโลกเมี่อครั้งตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ ขุนด่านผู้ดำรงตำแหน่งพระสวรรคโลกผู้นี้  ถ้ามิได้เป็นพ่อของสมุหนายกก็คงเป็นเครือญาติของสมุหนายกที่ได้ดำรงตำแหน่งขุนด่าน เป็นมรดกสืบทอดต่อ ๆ กันมาในวงศาคณาญาติ
           อาจจะเนื่องด้วยฐานอำนาจเดิมของพระสวรรคโลก ผู้มีตำแหน่งเดิมเป็นขุนด่านอยู่บริเวณเมืองบางขลังและอำเภอทุ่งเสลี่ยมปัจจุบันนี้   เมื่อได้เป็นพระสวรรคโลกเจ้าเมืองสวรรคโลกคนแรกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ คงตั้งจวนเจ้าเมืองอยู่บริเวณบ้านท่าชัย  ซึ่งตั้งอยู่ใต้เมืองสวรรคโลกเก่าลงมาอีกคุ้งน้ำหนึ่ง บริเวณวัดเชิงคีรี-วัดตลิ่งชัน ทำให้ไพร่พลของเจ้าพญาพิชัยราชา เจ้าเมืองสวรรคโลกสมัยธนบุรีแตกสลายหามูลนายเข้าสังกัดเดิมมิได้ต้องอพยพลงมาอยู่เมืองสวรรคโลกใหม่ ณ หมู่บ้านท่าชัย เมืองสวรรคโลกเก่า   จึงเริ่มมีประชากรเบาบางและถูกทิ้งร้างไปในที่สุด
          เอกสารตัวเขียนซึ่งเป็นเอกสารติดต่อราชการ   ระหว่างกรุงเทพมหานครกับเมืองสวรรคโลกขาดช่วงหายไปตั้งแต่ พ..2324 จนถึง 2374 จึงปรากฎจดหมายเหตุ ร.3 เลขที่ 24 สมุดไทยดำ จ..1193 ..2374  มีเนื้อความว่า   กรุงเทพมหานครต้องการไม้สักซ่อมแซมวัดและพระนคร จึงเกณฑ์ไม้สักส่วยมณฑลเชลียง  ดังนี้
          "เมืองสวรรคโลก มีเมืองทุ่งยั้ง เมืองบางขลัง เป็นเมืองขึ้นอยู่ในความปกครองประชุมศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม 2506 หน้า 204 ได้คัดลอกศิลาจารึกชื่อเมือง ในความปกครองของสมุหนายกไว้ว่า มีเมืองบางขลังและเมืองโคฎก อยู่ในความปกครองของเมืองสวรรคโลกปัจจุบันไม่ทราบว่าเป็นชุมชนแห่งใด   ถ้าจะให้เดาโดยมีหลักฐานเพียงเท่านี้  คาดว่าคงเป็นชุมชนตำบลหนองกลับ อำเภอสวรรคโลกเวลานี้   เพราะปรากฎชื่อเมืองโคฎกเพียงครั้งเดียวแล้วไม่ปรากฎชื่อเมืองนี้ในจดหมายเหตุอื่น ๆ อีกเลย
          บทบาทและหน้าที่ของชุมชนเมืองบางขลัง ส่วนใหญ่เป็นการส่งส่วยไม้ขอนสักเข้าไปส่งให้เจ้าเมืองสวรรคโลก ๆ บอกส่งจำนวนไม้ขอนสักเข้ากรุงเทพฯ อีกทอดหนึ่ง  ในปี พ.. 2388  เกิดคดีตองซูเข้ามาค้าขายที่เมืองบางขลังแวะพักสินค้าที่ศาลาวัดวังหมัน   ยกระบัตรเมืองบางขลังยักยอกสินค้าตองซู  เผอิญตองซูเป็นคนในบังคับอังกฤษจึงเกิดเรื่องราวฟ้องร้องข้ามประเทศกันขึ้นดูจดหมายเหตุ ร.3 เลขที่ 50 ..1207
          พ.. 2404 พระบางขลัง เจ้าเมืองบางขลัง ลงไปรับสัญญาบัตรและเครื่องยศสำหรับเจ้าเมืองบางขลัง ขากลับถ่อเรือขึ้นมาถึงบ้านยางตาล   อำเภอโกรกพระ   จังหวัดนครสวรรค์ เจ้าเมืองบางขลังป่วยถึงแก่กรรมที่วัดบ้านยางตาล (จดหมายเหตุ ร.4 ใบบอกเมืองนครสวรรค์ เรื่อง ส่งเครื่องยศพระบางขลังซึ่งถึงแก่กรรม เลขที่ 14   กระดาษเพลา จ..1223)
           พ..2411 เจ้าเมืองสวรรคโลกขอพระราชทานให้ขุนเมืองลูกชายพระบางขลังที่ถึงแก่กรรมขึ้นดำรงตำแหน่งพระบางขลัง   ศักดินา 1,000 ไร่    สำเนาตราตั้งฉบับนี้ไม่พระราชทานสัปทน เครื่องยศเป็นเพียงโลหะเงิน  พร้อมสั่งมาว่าราษฎรเมืองบางขลังเบาบางร่วงโรย คงจะเนื่องด้วยเหตุนี้จึงมีการชักชวนราษฎรเมืองเถิน เมืองลำปาง   ให้ข้ามหอรบด่านท่าเกวียนเข้ามาอยู่ในเขตแดนเมืองสวรรคโลกกันมากขึ้น   และมีพัฒนาการให้เป็นชุมชนอำเภอทุ่งเสลี่ยมในปัจจุบัน   (จดหมายเหตุ ร.5 ม 2.12/7    ใบบอกเมืองสวรรคโลก  เลขที่ ..1247)
          วันที่ 19 มกราคม พ..2433 พระศรีพนมมาศ เจ้าเมืองบางขลังป่วยเป็นโรค ชราถึงแก่กรรม ที่พระบางขลังว่างเปล่า   เจ้าเมืองสวรรคโลกสั่งให้กรมการเมืองบางขลังที่ได้ราชการรับตำแหน่งเป็นผู้รักษาการเมืองจนกว่าจะหาผู้เหมาะสมขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองบางขลัง (.5 ม 2.12/7 ใบบอกเมืองสวรรคโลก แผ่นที่ 420)
          การใช้ราชทินนาม  พระศรีพนมมาศ    เจ้าเมืองบางขลังเป็นครั้งแรกในจดหมายเหตุเมืองสวรรคโลกทำให้เกิดปัญหาว่า ทำไมจึงนำมาใช้กับเจ้าเมืองบางขลัง เพราะประเพณีการใช้ราชทินนามพระศรีพนมมาศนั้นเป็นตำแหน่งเจ้าเมืองทุ่งยั้ง โดยมีเขาทองสถานที่ประดิษฐานพระแท่นศิลาอาสน์เป็นมงคลนาม ดังจะดูได้จากคัดบอกเมืองอุตรดิตถ์เรื่องขอหีบศิลาหน้าเพลิงไปพระราชทานเพลิงศพพระศรีพนมมาศ เจ้าเมืองทุ่งยั้ง   กับถวายพระราชกุศลการปฏิสังขรณ์เจดีย์วัดทุ่งยั้ง เลขที่ 9..1225 ..2406  เก็บอยู่ที่งานบริการภาษาโบราณหอสมุดแห่งชาติ แสดงว่า เมืองทุ่งยั้งถูกสับเปลี่ยนย้ายสังกัดมาอยู่ในการปกครองของเมืองพิชัยสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   ผู้เขียนยังไม่พบหลักฐานว่าเป็นปีใด    แต่อยู่ระหว่างปี2395-2406 เรื่องถูกตัดพื้นที่เมืองทุ่งยั้งออกจากการปกครองของเมืองสวรรคโลกคงจะทำให้เกิดความคับแค้นใจต่อเมืองสวรรคโลกเป็นยิ่งนัก ดังจะเห็นได้ว่าเมืองสวรรคโลกพยายามแสดงสิทธิธรรมในราชทินนามพระศรีพนมมาศอยู่ตลอดมา ดังจะเห็นได้ว่าปี   พ..  2433  นั้น เมืองพิชัยขอพระราชทานเพลิงศพพระศรีพนมมาศ เจ้าเมืองทุ่งยั้ง (ที่มา รล. -มทเอกสารเย็บเล่ม กระทรวงมหาดไทย เล่มที่ 41 ลำดับที่ 59 หน้าที่ 197 ..1252) แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าในปี 2433 นั้นยังมีการช่วงชิงใช้ราชทินนามซ้ำกันทั้งเมืองพิชัยและเมืองสวรรคโลกที่ต่างแย่งกันปกครองเมืองทุ่งยั้ง เมืองสวรรคโลกยังแสดงออกถึงนัยะนี้อีกครั้ง โดยการนำราชทินนามไปตั้งชื่อเมืองในความปกครองแต่เมื่อมาถึง พ..2535 ไม่ทราบว่าเมืองศรีพนมมาศคือบริเวณใด ดูทำเนียบหัวเมือง รหัส ป.739 เก็บอยู่หอสมุดดำรงราชานุภาพหน้า ไม่ปรากฎปีที่พิมพ์ว่าเมืองสวรรคโลกเป็นเมืองชั้นโท มีเมืองในความปกครอง 6 เมือง
คือ เมืองด้ง เมืองวิเศษชัยสัตย์ เมืองบางยม เมืองศรีพนมมาศ เมืองพิรามรง เมืองบางขลัง ฉะนั้นเมืองศรีพนมมาศก่อน พ.. 2435 หรือ 100 ปี   ที่ผ่านมาจึงมิใช่เมืองทุ่งยั้งและเมืองบางขลัง 
          ปูชนียสถานที่สำคัญที่ชาวบ้านมณฑลเชลียงเคารพบูชา   ต้องไปสักการะอย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิต หรือปีละครั้งในวันเพ็ญเดือนสามนั้น  นับถือกันว่าไปนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์เมืองทุ่งยั้งเป็นการจาริกแสวงบุญที่ได้กุศลมาก  คงจะเป็นด้วยเหตุดังนี้      พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ  ให้ยกฐานะเมืองพิชัย  หัวเมืองชั้นตรีขึ้นเป็นหัวเมืองชั้นโท แล้วตัดเขตเมืองทุ่งยั้งในความปกครองของเมืองสวรรคโลก  ให้ไปอยู่ในความปกครองของเมืองพิชัย พร้อมกันนั้นก็ส่งพระภิกษุธรรมยุตินิกาย   พร้อมสมณศักดิ์ที่พระครูอภิบาลบรรจฐรณ์ ขึ้นมาครอบครองวัดพระแท่นศิลาอาสน์ ปูชนียสถานของภิกษุฝ่ายมหานิกายจึงกลายเป็นวัดของฝ่ายธรรมยุติจนถึงปัจจุบันนี้ เมืองสวรรคโลกคงรอเวลาที่จะแสดงสิทธิธรรมเหนือเมืองทุ่งยั้งตลอดมาดังจะได้เห็นว่า แม้แต่ทุ่งนาเพียง แปลงที่เมืองทุ่งยั้งทะเลาะวิวาทแย่งชิงกับเมืองบางโพใน พ..2387 นั้น เมืองสวรรคโลกให้ท้ายเมืองทุ่งยั้งในความปกครองเป็นอย่างยิ่ง แม้ที่สุดมีการสืบสวนหลักฐานว่า เป็นที่นาในความปกครองของเมืองบางโพมาแต่เดิม เมืองสวรรคโลกวางเฉยโดยดุษฎีไม่ลงไปฟังคำพิพากษา (เมืองบางโพ เปลี่ยนชื่อเป็นเมืองอุตรดิตถ์ เมื่อ พ..2395) เมืองสวรรคโลกเมื่อสบโอกาส จึงได้ขอพระราชทานราชทินนามพระศรีพนมมาศให้กับเจ้าเมืองบางขลัง  ดังที่กล่าวมา วันที่ กุมภาพันธ์
..2450  สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช  เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมงกุฏราชกุมาร เสด็จประพาสเมืองบางขลังตามเส้นทางถนนพระร่วง  ดังพระราชนิพนธ์ต่อไปนี้
          "วันที่ กุมภาพันธ์  ขี่ช้างออกจากตำบลหนองยาวเวลาประมาณ  โมงเช้า เดินเข้าในป่าประมาณ 68 เส้น ผ่านวัดร้างวัดหนึ่งราษฎรเรียกชื่อว่า วัดป่าแดงใต้   โบสถ์ตั้งอยู่ริมทางที่ไป เป็นโบสถ์ย่อม ๆ ก่อด้วยอิฐมีเสาแลง แต่เห็นไม่เป็นที่สำคัญจึงมิได้แวะเข้าไปดู ต่อไป เดินทางไปได้ประมาณ 110 เส้น ข้ามเข้าแดนเมืองสวรรคโลก  เวลาเที่ยงถึงวัดร้างเรียกตามชาวบ้านว่า วัดโบสถ์  ถนนพระร่วงจากหนองยาวมาจนถึงวัดโบสถ์นี้เกือบจะไม่แลเห็นเลย  แต่ยังมีทิวไม้มาพอสันนิษฐานเป็นเค้าได้    และเขาว่าที่ถนนนั้นยังรู้สึกได้ว่าแน่กว่าที่ข้าง ๆ  ถนน
           ตัววัดโบสถ์เองนั้นก็เป็นที่น่าดูยิ่ง ยังมีสิ่งที่เป็นชิ้นควรดูเหลืออยู่ชิ้นหนึ่งคือ มณฑป มีกำแพงล้อมรอบ มณฑปนั้นสี่เหลี่ยมจัตุรัส   ด้านละ วา   ในนั้นพิจารณาดูเห็นท่าทางจะมีพระพุทธรูปนั่ง มีพระเจดีย์เล็ก ๆ ก่อไว้ในลานรอบมณฑป กำแพงแก้วที่ล้อมรอบลานนั้นทำด้วยแลงเป็นก้อนกลม หรือแปดเหลี่ยมปักยึดกันทำนองรั้วเพนียด แล้วมีแลงแท่งยาว ๆ   พาดเป็นพนัก พนักทำเป็นรูปหลังเจียดตัดยอด คะเนว่าสูงประมาณ สูง   แต่เดี๋ยวนี้ดินสูงขึ้นมาเสียมากแล้วที่สังเกตุได้ว่ากำแพงแก้วเคยสูงกว่าเดี๋ยวนี้คือ ดูประตู ซึ่งมีอยู่สองประตู ทางด้านหน้าวิหารกับด้านหลัง ด้านหน้าพังเสียแล้ว แต่ด้านหลังศิลาทับครอบบนประตูยังวางอยู่ตามที่ ประตูด้านหลังนี้เวลานี้คนธรรมดาจะลอดต้องก้มจึงต้องเข้าใจว่าแต่เดิมต้องสูงกว่านี้ ศิลาแลงก้อนที่ทับบนกรอบประตูนั้นใหญ่พอใช้เป็นรูปหลังเจียดตัดเหมือนที่พาดบนกำแพงแก้ว วัดดู ได้ความว่าศิลาก้อนนั้นยาว ศอกคืบ 10 นิ้ว กว้าง ศอก นิ้ว   หนาแต่ล่างที่พาดอยู่กับเสาจนถึงยอดศอกคืบ หลังเจียดข้าง ๆ กว้างข้างละ ศอก บนสันที่ตัดกว้าง ศอก   เสาที่รับแท่งศิลาใหญ่วัดนี้โดยรอบ ศอก    ทางสูงวัดได้ไม่แน่นอนเพราะไม่รู้ว่าดินพูนขึ้นมาเสียเท่าไร ศิลาเสาทั้งสองคู่นั้นเป็นแลงทั้งแท่งไม่ใช่ตัดต่อกัน  เพราะฉะนั้นก็ต้องนับว่าแท่งใหญ่อยู่บนลานภายในร่วมกำแพงแก้วนั้นประมาณ  13 วา สี่เหลี่ยมจัตุรัสมณฑปตั้งอยู่ตรงกลางข้างหน้ามณฑปนอกกำแพงแก้วออกไปมีสระลึกและเขื่องอยู่มีน้ำขัง พิจารณาดูก็เห็นว่าวัดนี้ไม่ใช่วัดเล็ก จึงทำให้เป็นที่พิศวงว่าเหตุไฉนวัดที่ทำด้วยฝีมือดีและซึ่งเข้าใจว่าต้องใช้กำลังคนมากเช่นนี้ จึงมาตั้งอยู่ในกลางป่า    สืบดูก็ได้ความว่า ทางทิศตะวันออกของวัดนี้ ที่ริมน้ำฝากระดานมีตำบลหนึ่ง เรียกว่า เมืองบางขลังห่างจากวัดโบสถ์ระยะประมาณ 70 เส้น แต่ไม่มีคูมีเทินอะไรเหลืออยู่ (เที่ยวเมืองพระร่วงหน้า 130 )
          พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คงจะไม่ทันได้ทรงสังเกตเห็นหลักฐานอุโบสถที่อยู่ทางทิศตะวันออกของสระน้ำโบราณ อาจเนื่องด้วยป่าไม้รกทึบก็เป็นได้ จึงมิได้ทรงพระราชทานดำริหรือบันทึกไว้ในหนังสือเที่ยวเมืองพระร่วงเล่มนี้ ปัจจุบันมีการสร้างอาคารทับบนซากโบสถ์เก่าใช้ทำสังฆกรรม ใบเสมาวางกองอย่างไร้ค่าอยู่หน้าอุโบสถ
          ในระหว่าง พ..2440-2475 นี้ เป็นระยะเวลาที่มีการตั้งตำแหน่งกำนันเป็นขุนผู้ใหญ่บ้านเป็นหมื่น ตำบลเมืองบางขลัง มีขุนอภิบาลบางขลัง ต้นสกุลพลธีระ บ้านหนองกลับเป็นกำนัน มีหมื่นเปรมใจชนาการ   บ้านคลองแห้งและหมื่นแกว่นภัยพาลบ้ายขอนซุงเป็นผู้ใหญ่บ้าน

ประวัติโดยสังเขป
ขุนอภิบาลบางขลัง (ธูป  พลธีระ)
อดีตกำนันตำบลเมืองบางขลัง

          ขุนอภิบาลบางขลัง (ธูป  พลธีระเกิดเมื่อปี พ.. 2411 ที่บ้านสวะ ตำบลเมืองบางยม อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย เป็นบุตรของนายพรม นางเปีย ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่ตำบลเมืองบางขลัง และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกำนันตำบลเมืองบางขลัง ได้สมรสกับนางทุเรียน (หรือ เรียนที่ตำบลเมืองบางขลังนั้นเอง จะมีบุตรด้วยกัน คน คือ 
              1. นายเลื่อน    พลธีระ
              2. นายลอย     พลธีระ
              3. นางล่าย     พลธีระ
              4. นางรัด      พลธีระ
              5. นายโรย     พลธีระ
              6. นายม้วน     พลธีระ
              7. นางแม้น     พลธีระ
          ต่อมาได้มีภรรยาใหม่อีก คนที่บ้านหนองกลับ ตำบลเมืองบางขลัง ชื่อ นางปั่น (หรือ กำปั่นมีบุตรด้วยกันอีก คน ดังต่อไปนี้
              1. นางทองเพียร     พลธีระ
              2. นางโต๊ะ         พลธีระ
              3. นางทองดี        พลธีระ
              4. นายดอกรัก       พลธีระ
              5. นางบัวรัง        พลธีระ

        ในระหว่างที่ขุนภิบาลบางขลัง (ธูป พลธีระทำหน้าที่เป็นกำนันตำบลเมืองบางขลังมีหมู่บ้านใหญ่ หมู่บ้าน มีผู้ใหญ่ปกครองดูแล คน ดังต่อไปนี้
          1. หมื่นบางขลังขันธรักษ์   (บุญ  พูลรักษ์)   เป็นผู้ปกครองดูแลราษฎรหมู่บ้านหนองกลับ ตำบลเมืองบางขลัง ในขณะนั้น ปัจจุบันได้แยกเป็นบ้านหนองกลับตำบลหนองกลับอำเภอสวรรคโลกแล้ว 
           2. หมื่นแกว่นภัยพาล (แก้ว ด่าพล้อย)  เป็นผู้ใหญ่บ้านดูแลราษฎรหมู่บ้านขอนซุง
          3. หมื่นเปร่มใจชนากร เปร่ม เปรมใจเป็นผู้ใหญ่บ้านดูแลราษฎรหมู่บ้านคลองแห้งในปัจจุบัน
          ขุนอภิบาลบางขลัง ธูป  พลธีระ ถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 82 ปี ในขณะที่รับหน้าที่อยู่รับเหรียญพระราชทานหลายอย่างหลังจากถึงแก่กรรมแล้วบรรดาบุตรและธิดาก็ได้จัดสรรบันส่วนแบ่งไปเก็บรักษา และบัดนี้ไม่มีเหลือให้เห็นอีกเลย
                                ฯลฯ                           
หมื่นบางขลังขันธรักษ์

          หมื่นบางขลังขันธรักษ์ (บุญ  พูลรักษ์เกิดเมื่อปี พ..2413 ที่บ้านหนองกลับตำบลเมืองบางขลัง อำเภอสวรรคโลก เป็นบุตรของนายท้วม  นางเขียว พูลรักษ์   ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ใหญ่บ้านดูแลราฎรบ้านหนองกลับ มีภรรยาทั้งหมด คน ดังนี้
          1. นางคง   พูลรักษ์  มีบุตร คน เป็นชายชื่อนายรั้ง พูลรักษ์ ถึงแก่กรรม
          2. นางใคร้  พูลรักษ์  มีบุตร 6 คน คือ 
               1. นางแหวน       พูลรักษ์     ถึงแก่กรรมแล้ว
               2. นายวงค์        พูลรักษ์     ถึงแก่กรรมแล้ว
               3. นางวิง         พูลรักษ์     ถึงแก่กรรมแล้ว
               4. นายวัง         พูลรักษ์     ถึงแก่กรรมแล้ว
               5. นางเวียง       พูลรักษ์     ถึงแก่กรรมแล้ว
               6. นายว่อง        พูลรักษ์     ถึงแก่กรรมแล้ว
          3. นางตุ่น   พูลรักษ์ มีบุตรด้วยกัน คน คือ 
               1. นางโปร่ง       พูลรักษ์     ถึงแก่กรรมแล้ว
               2. นางลอม        พูลรักษ์     ยังมีชีวิตอยู่
          หลักฐานและเครื่องหมายพระราชทานไม่มีให้เห็นที่ยังเห็นอยู่ขณะนี้ คือ กระบี่อาจจะเป็นกระบี่พระราชทานยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ นางโปร่ง  พูลรักษ์ บุตร ได้นำมาเก็บไว้หลักจากหมื่นบางขลังขันธรักษ์   บุญ  พูลรักษ์)    บิดาซึ่งถึงแก่กรรมลง ต่อมานางโปร่งถึงแก่กรรมแล้ว นายปิ่ม  สุขกล้าซึ่งเป็นสามีได้เก็บรักษาไว้ในปัจจุบันนี้มาขอดูได้ทุกเวลาที่นายปริ่ม  สุขกล้า บ้านเลขที่    หมู่ที่ ตำบลหนองกลับ  อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
                                ฯลฯ

          หมื่นเปรมใจ ชนาการ(เปรม เปรมใจ)เป็นคนบ้านคลองแห้ง ตำบลเมืองบางขลัง อำเภอสวรรคโลก  ในขณะที่ขุนอภิบาลบางขลัง (ธูป  พลธีระ)เป็นกำนันนั้น หมื่นเปรมใจ  ชนาการ (เปรม  เปรมใจเป็นผู้ใหญ่บ้านคลองแห้ง อำเภอสวรรคโลก และบัดนี้ได้ ถึงแก่กรรมแล้ว
          หมื่นแกว่นภัยพาล (แก้ว  ด่างพล้อยบ้านปากคลองช้าง ตำบลเมืองบางขลัง อำเภอสวรรคโลก ในขณะที่ขุนภิบาลบางขลังรับหน้าที่เป็นกำนันอยู่นั้น หมื่นเปรมใจ ชนาการ (เปรม  เปรมใจเป็นผู้ใหญ่บ้านปากคลองช้างและขณะนี้ได้ถึงแก่กรรมแล้วเช่นกัน
          ในปี พ..2450 นั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว   ทรงบันทึกถึงมณฑปวัดโบสถ์เมืองบางขลังว่า "ในนั้นพิจารณาดูเห็นท่าทางจะมีพระพุทธรูปนั่ง" (เที่ยวเมืองพระร่วง หน้า 130) แสดงว่า มีการเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปสำริด องค์ ออกไปจากวัดโบสถ์เมืองบางขลังนำไปประดิษฐาน ณ วัดบ้านไร่ ตำบลบ้านไร่ อำเภอศรีสำโรง แล้วเคลื่อนย้ายไปเก็บรักษาอยู่ ณ วัดบ้านซ่าน ตำบลบ้านซ่าน อำเภอศรีสำโรง จนถึงปัจจุบัน นางผูก ชูเชิด อายุ 75 ปี หมู่ที่ ตำบลบ้านไร่ กับนายนวม ชูวิทย์ อายุ 72 ปี หมู่ ตำบลบ้านไร่   ให้ สัมภาษณ์ที่วัดปากคลองแดน ว่าพระพุทธรูปวัดโบสถ์เมืองบางขลังมี องค์ ชาวบ้านอาราธนาใส่เกวียนลากด้วยควายมาติดหล่มถึงบริเวณวัดประดู่หลุม ปัจจุบันเป็นทุ่งนา หมู่ที่ ตำบลบ้านไร่ ชาวบ้านจึงบวงสรวงว่า จะแห่พระพุทธรูปคืนกลับยังถิ่นเดิมของท่านทุกวันตรุษไทย ซึ่งตรงกับแรม 15 ค่ำ เดือน จึงเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปต่อไปได้ มีคำเล่าลือต่อ ๆ กันว่า มีคำสั่งให้เลือกค้นหาพระพุทธรูปงาม ๆ เอาไปไว้ที่กรุงเทพมหานคร ผู้เขียนเข้าใจว่า ตรงกับ ปี พ.. 2444   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     กำลังสร้างพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ชาวบ้านเล่าว่า "มีคนของหลวงนำเอาพระพุทธรูปไปเสีย องค์เหลืออยู่ที่วัดบ้านซ่าน องค์ พระพุทธรูปองค์นี้    น่าจะได้แก่พระพุทธรูปโบราณเก็บอยู่ที่วัด
คลองโป่ง เนื่องด้วยขณะนั้นพระครูธรรมภาณโกศล (หลวงพ่อเอม)  เป็นเจ้าอาวาสและเจ้าคณะอำเภอศรีสำโรง    กรณีตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดของการเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปแล้วไม่คืนวัดเดิมได้แก่  หลวงพ่อเพชรวัดนครชุม เมืองพิจิตรเก่า เมื่อพระพุทธรูปไม่ต้องประสงค์ของกรุงเทพมหานคร   จึงมีการยึดครองหลวงพ่อเพชรประดิษฐานไว้ ณ วัดท่าหลวงเมืองพิตรใหม่ เกิดกรณีพิพาทกันระหว่างเมืองพิจิตรเก่ากับเมืองพิจิตรใหม่ แต่ยุติลงเพราะเจ้าคณะวัดพิจิตร   เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าหลวงประสงค์ให้พระพุทธรูปหลวงพ่อเพชรประดิษฐานอยู่ที่ วัดท่าหลวงเมืองพิจิตรใหม่ กรณีเช่นนี้คงเป็นอย่างเดียวกันกับพระพุทธรูปโบราณของเมืองบางขลังที่ประดิษฐานที่วัดคลองโป่งนี้ด้วย

          การแห่พระพุทธรูปโบราณ องค์ ในวันตรุษไทยของชาวบ้านวัดบ้านซ่านนั้น มีข้อสงสัยข้อน่าสังเกตว่า  มิได้แห่ไปถึงวัดโบสถ์เมืองบางขลัง แต่แห่ไปถึงเขตแดนเมืองบางขลังต่อกับเขตเมืองศรีสำโรง   โดยเริ่มขบวนจากวัดบ้ายซ่านตั้งแต่เช้าผ่านวัดบ้านไร่ ถึงวัดปากคลองแดน หมู่ที่ ตำบลบ้านซ่าน   หยุดพักถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุและเลี้ยงข้าวชาวบ้านที่มาช่วยกันลากพวนบุษบกแห่พระพุทธรูป จากนั้นมีการ  สรงน้ำพระพุทธรูปโบราณเสร็จแล้วแห่กลับไปไว้วัดบ้านซ่านในตอนบ่าย  ผู้เขียนแปลกใจว่า  ทำไมจึงไม่แห่ไปให้ถึงเมืองเดิมของพระพุทธรูป ชาวบ้านให้การว่า   กลัวอภินิหารของพระพุทธรูปจะไม่ยอมกลับไปประดิษฐาน  ณ  วัดบ้านซ่าน   เพียงแห่ใช้บนมาถึงเขตเมืองบางขลังตั้งแต่ปีแรกที่อาราธนาพระพุทธรูปไปไว้ที่วัดบ้านซ่านมาแต่โบราณ
 กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์
ในหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี
ถนนสามเสน กรุงเทพฯ 10300
 22 กรกฎาคม  2535

เรียน คุณสมชาย  เดือนเพ็ญ

          ผมไม่ค่อยมีโอกาสพบอาจารย์ประเสริฐ จึงได้มอบภาพถ่ายพระพุทธรูปสุโขทัยที่จาริกที่ฐานให้  คุณเทิม มีเต็ม เป็นผู้อ่าน คุณเทิมได้ช่วยกรุณาอ่านให้ ดังที่ได้แนบสำเนาคำอ่านมาด้วยนี้
          คุณเทิมอ่านได้เกือบหมด ยังคงเหลือที่อ่านไม่ได้อีกเล็น้อ ในบรรทัดที่ ซึ่งน่าจะเป็นความที่มีความสำคัญ   ซึ่งคุณเทิมบอกว่า มิใช่เพราะรอยจารึกลบเลือน แต่น่าจะเป็นการถ่ายภาพบริเวณนั้นเห็นไม่ชัดมากกว่า ผมได้สำเนาถ่ายรูปที่ และที่ 2ส่งมาด้วย และได้ใช้สีขาวทำเครื่องหมายลงบนรูปทั้งสองใบ ตรงบริเวณที่ถ่ายออกมาไม่ชัดเจน  ถ้าจะให้ดีคุณกรุณาช่วยถ่ายภาพบริเวณตรงนั้นส่งไปให้อ่านใหม่คงอาจทราบข้อความนั้นได้   และถ้าส่งภาพถ่ายชัด ๆ ของพระพุทธรูปองค์นั้นขนาดเต็มองค์ไปด้วยก็จะดีมิใช่น้อย
          
           เมื่อผมได้พบอาจารย์ประเสริฐจะได้ส่งสำเนาคำอ่านไปให้อาจารย์ประเสริฐทราบด้วย

                                              ขอแสดงความนับถือ

                                           (นายพิเศษ   เจือจันทร์พงษ์)






    




         จาริกฐานพระพุทธรูปสำริด วัดโบสถ์ เมืองบางขลัง
                       อักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย
                          พุทธศตวรรษ 20-21  

                คำจารึก                           คำอ่าน

1. //   พระเปนเจาองคนี...แมไ          พระเป็นเจ้าองค์นี้...แม่ไ.
    รามลูก(ทำรามรงสี)...เจา            รามลูก ทำ รามรังสี...เจ้า
    ปราถนาขเลิกสาสนาให้ห้าพนั            ปรารถนาขอเลิกศาสนา ในห้าาพัน-
    พระสาเมิอสินสาสนาใส                พระสาเมื่อสิ้นศาสนไซร้
2.  ขอไปได้เกดในดุสิดาเมือพระสรี          ขอไปได้เกิดในดุสิดาเมื่อพระศรี-
    อารียไมตรีมาตรัสสรรเพ(ญุดา)ญาน       อาริยไมตรีมาตรัสสรรเพญุดาญาณ
    (ขอได)ฟงัธมเทสนาแดสำนกัพระศรี       ขอได้ฟังธรรมเทศนาแต่สำนักพระศรี-
    อาริยไมตรีเปนเจาแลขอไดนีรพาน        อาริยไมตรีเป็นเจ้า แลขอได้นีรพาน

  1. พระเป็นเจ้าองค์นี้            -       พระพุทธรูปองค์นี้ 
2. ขอเลิกศาสนา               -       ขอทำนุบำรุงศาสนา
3. พระสา (วัสสา,วรรษา)       -       ปี
4. เมื่อสิ้นศาสนา               -       เมื่อศาสนาครบ 5,000 ปี
5. ดุสิดา(ดุสิตา)               -       ชื่อสวรรค์ขั้นที่ ในจำนวนสวรรค์ ชั้น
6. ตรัสสรรเพญุดาญาณ           -       ปัญญาเป็นเครื่องหยั่งรู้ธรรมทั้งปวง
7. นีรพาน (นิพพาน)            -       คำว่าสิ้นกิเลส,ความดับกิเลส

วัดโบราณบริเวณเมืองบางขลัง อำเภอสวรรคโลก

          1. วัดใหญ๋ชัยมงคลปัจจุบันถูกแยกเขตไปอยู่หมู่ที่ ตำบลบ้านใหม่ชัยมงคล อำเภอ
              ทุ่งเสลี่ยม (วัดบางขลัง)
          2. วัดโบสถ์เมืองบางขลัง (วัดบางขลัง 2)
          3. วัดนากลาง (วัดบางขลัง 3)
          4. วัดเจดีย์เจ็ดแถว (วัดบางขลัง 4)
          5. วัดเกาะหินตั้ง (วัดบางขลัง 5)
          6. วัดสบู วัดร้างปัจจุบันคือ วีดศรีสมบูรณาราม  บริเวณโรงเรียนมัธยมศึกษา 
             ตำบลหนองกลับ (วัดบางขลัง 5) 
             จาริกสุโขทัยหลักที่ 14 ด้านที่ บรรทัดที่ 25 คำว่า สบู เขียนเป็นภาษาเขมร
             แปลว่า หญ้าแฝกที่ใช้มุงหลังคาชนิดหนึ่ง
          7. วัดเขาดื่อ (วัดบางขลัง 7)
          8. วัดป่าแดง ตำบลหนองกลับ (วัดบางขลัง 8)
          9. วัดน้ำด้วน (วัดบางขลัง 9)

          ผู้เขียนเชื่อว่า  คงมีวัดโบราณมากกว่านี้อีก   ถ้าผู้ใดทราบกรุณาแนะนำให้ผู้เขียนรู้ด้วยจะได้แก้ไขเพิ่มเติมหลักฐานให้สมบูรณ์เป็นประโยชน์แก่การศึกษาประวัติศาสตร์เมืองบางขลังต่อไป  นายเปลื้อง  หาญกล้า บ้านเลขที่ 13 หมู่ที่ ตำบลบ้านซ่าน    ให้สัมภาษณ์ว่าเดิมชาวตำบลบ้านซ่าน บ้านไร่เมืองบางขลัง หนองกลับ นาขุนไกร ราวต้นจันทร์ จะไปนำหินผุบริเวณเขาเดื่อ ใกล้ ๆ กับวัดโบสถ์เมืองบางขลังนำมาทำดินสอพองใช้เป็นแป้งผัดหน้าทาตัว เย็นผิวกายดีมากทำมาแต่สมัยปู่ย่าตายาย จนมีแป้งสมัยใหม่เข้ามาแทนที่จึงยุติการใช้แป้งดินสอพองเขาเดื่อนี้ไป 
สมชาย  เดือนเพ็ญ สัมภาษณ์เมื่อ เมษายน 2534)        
          อดีตเจ้าวัดโบสถ์เมืองบางขลัง ที่ชาวบ้านเคารพมากชื่อ หลวงพ่อหยวก  ฉายา สุทธิจิตโต  ชะตาวันอังคารที่ มิถุนายน 2451 มรณภาพวันอังคารที่ 10 ตุลาคม พ..2515 ชาวบ้านเชื่อว่า ท่านสำเร็จบรรลุถึงอริยสงฆ์

 ประวัติโดยสังเขป
  หลวงพ่อป๊อก

           วัดหนองกลับที่ดั้งเดิมปัจจุบันนี้ เป็นวัดเก่าแก่ไม่ทราบว่าสร้างเมื่อปี พ..ใด  และ ใครเป็นผู้ก่อสร้าง ทราบแต่ว่าบริเวณที่วัดหนองกลับตั้งอยู่มีฐานโบสถ์วิหารเก่าสร้างอยู่บนเนินดินสูงประมาณ เมตร กว้าง เมตร ยาวประมาณ 10 เมตร ลักษณะสร้างด้วยอิฐก้อนใหญ่ไม่มีศิลาแลงปะปน จะเป็นรูปร่างลักษณะใดไม่ปรากฎเพราะทุกอย่างได้ถูกทำลายจนหมดสิ้น   ยังคงเห็นแต่เนินดินและเศษหิน และวัตถุบางอย่างให้เห็นเป็นชิ้นส่วนเล็กน้อยเท่านั้น   และต่อมาได้รับคำบอกเล่าต่อ ๆ มาว่าได้มีภิกษุรูปหนึ่งเดินธุดงภ์มากางกรดอยู่ในวัดนี้ ประชาชนมาพบเห็นก็เกิดความเลื่อมใสจึงพร้อมใจกันสร้างกุฎิที่พักอาศัยและถวายอาหารการกินในวันแรม ค่ำ 15 ค่ำ ได้ชักชวนกันประกอบกิจในทางพุทธสาสนา ต่อมาได้ทราบว่า   ภิกษุธุดงภ์มาจากทางภาคเหนือเพราะสำเนียงในการพูดไม่ชัดนัก   เป็นภาษาทางภาคเหนือและยังทราบต่อมาอีกว่าเป็นภิกษุที่เรืองวิชาในด้านเครื่องรางของขลัง  และยังมี
ความรู้ทางสมุนไพรยารักษาโรคแผนโบราณอีกด้วย ประชาชนได้ขนานนามว่า "หลวงปู่ป๊อก
อุตโมจนกระทั่งปัจจุบันนี้ ได้มรณะภาพแล้วที่วัดหนองกลับ    และได้ทำการณาปนกิจที่วัด
หนองกลับนั่นเอง แต่ไม่มีผู้ใดทราบว่ามรณะเมื่อปีใด พ..ใด ไม่ปรากฎ
          ต่อมาเมื่อ 30 ปีเศษนี้เองประชาชนบ้านหนองกลับมีความเลื่อมใสศรัทธาได้ชักชวนกันบริจาคของต่าง ๆถวายชนิดที่หาใดในหมู่บ้าน โดยอาราธนาพระคุณเจ้าเกจิอาจารย์จากวัดต่าง ๆ จำนวน รูป มาทำพิธีปลูกเสก มีขนาดหน้าตักกว้าง 35 นิ้ว สูง 39 นิ้ว ประดิษฐานในวัดหนองกลับให้ประชาชนได้สักการะบูชาประจำหมู่บ้านต่อไป  และนอกจากนั้น ได้ทำการหล่อเป็นพระเครื่องสำหรับติดตัวได้อีกเป็นจำนวนมาก ขณะนี้ได้จำหน่ายไปหมดแล้ว และจะได้เริ่มจัดทำต่อไปเพื่อนำเงินมาสร้างซุ้มสำหรับประดิษฐานต่อไป 
  
                         ฯลฯ

อาจารย์ศะรี  จันทร์สวัสดิ์ ลูกเขยอภิบาลเมืองบางขลังเป็นผู้ให้สัมภาษณ์ อายุ 72 ปี บ้านเลขที่ 107 หมู๋ที่ ตำบลหนองกลับ อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย   กรกฎาคม 2539

ทำเนียบศักดินาบ้านเมืองครั้งกรุงเก่า
ได้ต้นฉบับมาแต่หอพระสมุด วชิรญาณ
  -------------------------------
           
          ศุภมัสดุมหาศักราช 1298 (1388) สุกร (สุนักขสังวัฉระกาฬปักเขทสมิติถิอาทิตยวเร  สมเด็จพระรามาธิบดี ศรีบรมไตรโลกนาถบพิตรเป็นเจ้าอยู่หัว  สถิตย์อยู่ ณ พระที่นั่งเบญจารัตนมหาปราสาท โดยบูรพาภิมุข เจ้าพระยาธรรมาธิบดีศรีรัตนมณเทียรบาลกราบบังคมทูลพระกรุณา ฯ จึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงดำรัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่า ตำแหน่งหัวเมืองเอก โท ตรี จัตวา มีอยู่ดังนี้
                                ฯลฯ

        ออกญารามราชแสนญาธิบดี ศรีสัชนาไลยอภัยพิริยบรากรมพาหุ พระยาสวรรคโลกเมืองโท นา 10,000 ขึ้นแก่ ประแดงจุลาเทพซ้าย
         พระคำแหงมหาราช             ปลัด         นา   1,200
         หลวงเพชรสงคราม             หลวงพล      นา   1,000
         หลวงทิพรักษา                 ยุกรบัตร      นา   1,000
         หลวงเทพนรินทราราชกันดานพล    มหาดไทย     นา   1,000
         หลวงรณนายก                 สัสดี         นา     600
         ขุนบุรินทรามาตย์               ขุนเมือง      นา     600 
         ขุนอินมณเทียรบาล              ขุนวัง        นา     600
         ขุนเทพโทษาบดี                ขุนคลัง       นา     600
         ขุนพลทรากรกระเสตรา          ขุนนา        นา     600
         ขุนวิเศษไชยชาญ                           นา     400
         ขุนวิเศษไชยญาณ                           นา     400
                              เมืองขึ้น
         1. เมืองพิเศษไชยสัจ
         2. เมืองพิแรมรมย์
         3. เมืองศรีพนมมาศ
         4. เมืองพิรามรง
                 สิริย์  4  เมือง (ผู้รักษาเมืองนาคนละ (1) 600


          เจ้าพระยาธรรมาศรีโศกราชชาติภักดีบดินทรสุรินทรฤาไชยอภัยพิริยบรากรมพาหุเจ้าเมืองสุโขทัย เมืองโท นา 10,000 ขึ้นแก่ประแดงจุฬาเทพซ้าย

          หลวงคำแหงพระราม         ปลัด          นา    1,200
          หลวงพลสงคราม            หลวงพล       นา    1,000
          หลวงต่างตาราษฎร์          มหาดไทย      นา    1,000
          หลวงภักดีฎธร              ยุกรบัตร       นา      600
          ขุนราชรองเมือง            ขุนเมือง       นา      600
          ขุนศรีมณเทียรบาล           ขุนวัง         นา      600
          ขุนมนตรีศรีรัตนโกษา         ขุนคลัง        นา      600
          ขุนพลอากรกระเสตรา        ขุนนา         นา      600

                              เมืองขึ้น
          1. เมืองนครนายก   (เมืองนครนาคง)
          2. เมืองคงคราม    (เมืองกงไกรลาศ)
          3. เมืองคีรีมาศ
          4. เมืองราชธานี

                สิริย์  เมือง (ผู้รักษาเมืองนาคนละ (1) 600

หมายเหตุ  ที่มา  จากเทศาภิบาล เล่มที่ 21 แผ่นที่ 121 วันที่ เมษายน พ..2459 หน้า 5-7 ในราชกิจานุเบกษาเล่มประจำ ร..199 (..2443) มีทำเนียบเมืองต่าง ๆ ปรากฎว่าเมืองสวรรคโลก มีเมืองขึ้นอยู่ เมือง ดังนี้
          1. เมืองวิเศษไชยสัต  (มีผู้ให้ข้อมูลว่า อยู่ตรงบ้านหนองบัว เขตติดต่อ 
             สวรรคโลก-ศรีนคร แถว ๆ นิคม)
          2. เมืองบางยม      (ที่ตั้งอยู่เหนือวัดท่าทองเล็กน้อย อยู่ริมน้ำยมพังลงมาหมด)
          3. เมืองบังขัง       (คงเป็นเมืองบางขัง)
          4. เมืองด้ง         (อยู่ในเขต อ.ศรีสัชนาลัย)
          5. เมืองพิแรมรง     (ห่างไปไผ่ตะล่อม,เขาตอม่อ,เขาแขนเขากา ว่ามีถ้ำเก็บสมบัติ)
          6. เมืองศรีพนมมาศ   (เข้าใจว่าทุ่งยั้ง)

หมายเหตุ  ที่มา  จากวารสาร ตราไปรษณียกร ฉบับที่ ปีที่ สิงหาคม เรือง "สวรรคโลก"
               โดย พล...ชวรวย ปลิยานนท์

               ประกาศเทวดา  พระราชพิธีตรุษ รัชกาลที่ ประกาศเวลาเช้า

             ฯลฯ เมืองสวรรคโลกบุรี เดิมนามศรีสัชนาลัย อึศภคัมถีรบุเรศ,พิเศษไชยสัจ,ด้ง,
บางขัง,บางยม,พิแรมรมย์,สุโขทัย,นครนาคง,กงไกรลาศ,กงกราบ,สำโรงทอง,นครคีรีมาศ,
ราษฎรดี,(เมืองขึ้นอันดับ ตามทำเนียบครั้งกรุงเก่า เรียกว่า ราชธานี แต่ในใบประกาศพิธี
ตรุษ ร.5 เรียกว่า ราษฎรดี
          บุรีวิเชียรปราการ โป่ง พาน ไตรตึงษ์ โกสัมพิน บุรินชานุ นาถนครา ฯลฯ

หมายเหตุ  ที่มา  ประกาศราชพิธี เล่ม หน้า 169 บันทึกที่ 14-18  อุศภ วัวผู้,เครื่องหมายแสดงความสามารถของนักรบ  นักรบผู้แกร่งกล้าเกรียงไกร หรือเป็นมาตราวัดในสมัยโบราณเท่ากับ 20 อัฐิ (คือ เท่ากับ เส้น 15 วา)


                           ค้นคว้าโดย ป..



ดอกเข็ม

          เข็มเป็นไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดย่อม ใบหนาแข็งสีเขียวสด ดอกออกเป็นช่อแบนใหญ่แต่ละช่อมีดอกขนาดเล็กเป็นหลอดปลายแยกออกเป็นกลีบ 4-5 กลีบ ปลายกลีบอาจโค้งมนหรือแหลม เข็มมีหลายสกุลหลายพันธุ์หลายชนิดในสกุล  Ixora  ก็มีเช่น Ixora  chinensis   เข็มเหลือง,I.Coccinea เข็มแดง   I.Finlaysoniana เข็มขาว, I.macrothyrsa เข็มเศรษฐี ฯลฯ แต่ละชนิดต่างก็มีดอกใหญ่เล็กสีต่าง ๆ กัน ทั้งเหลือง แดง แสด ขาว นอกจากนี้ยังเรียกไม้ในวงศ์และสกุลอื่นว่าเข็มอีกด้วย เช่น Dopsia fruticosa เข็มอุณากรรณ Eranthemum nervosum เข็มม่วง Pentas  lancelata เข็มอินเดีย
          เข็มเป็นไม้ในเขตฤดูร้น กระจายพันธุ์อยู่ไปทั่วในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แหลมอินโดจีน หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ญี่ปุ่น อเมริกาใต้ และมีพันธุ์ที่เป็นลูกผสมใหม่ ๆ  เกิดขึ้นเรื่อย ๆ 
          เข็มเป็นไม้ต้นชอบอยู่กลางแจ้ง ไม่เลือกสภาพดินนัก แต่ก็ชอบดินร่วนซุยที่ชุ่มชื้น พอสมควร โดยปรกติเข็มปลูกขึ้นง่าย และทนต่อความแห้งแล้ง
          เนื่องจากเข็มให้ดอกตลอดปี    จึงมีผู้นิยมปลูกตามบ้าน สวน และวัด บางครั้งก็ปลูกตามริมกำแพง   หรือเป็นรั้ว ดอกก็มักใช้บูชาพระ และไหว้ครู ในทางสมุนไพร ว่าเข็มรากมีรสหวานใช้รับประทานแก้โรคตา และเจริญอาหาร เข็มป่า (Lxora cibdela Craib) เปลือกใช้ตำคั้นเอาน้ำหยอดหูฆ่าแมงคาเรืองเข้าหู ใบใช้ฆ่าพยาธิ ดอกแก้โรคตาแดง ตาแฉะ ลูกแก้ริดสีดวงในจมูก
          การขยายพันธุ์ใช้วิธีเพาะเมล็ดและปักชำกิ่ง
          ในทางวรรณคดี อิเหนา พระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ ได้กล่าวถึงเข็มว่า
                  "ลำดวนดอกดกตกเต็ม
                      ยี่เข่งเข็มสารถียี่โถ
                   รสสุคนธ์บนมะลิผลิดอกโต
                      ดอกส้มโอกลิ้น  กล้าน่าดม"

                ด้วยความเอื้อเฟื้อจาก คุณสาคร  สุวรรณางกูร 

หลักฐานทางสถาปัตยกรรม

 กรณีตัวอย่าง          เรือนหมื่นแกว่นภัยพาล  อดีตผู้ใหญ่บ้าน หมู่บ้านขอนซุง ตำบลเมืองบางขลัง  อำเภอสวรรคโลก 

         เดิมเรือนผู้ใหญ่บ้านหลังนี้ เป็นเรือนขอมุงกระเบื้องดินเผา นางแฉล้ม จันทร์สิงห์ อายุ 58 ปี ลูกสาวหมื่นแกว่นภัยพาลเกิดที่เรือนหลังนั้น โตจนพอจำความได้ แต่ยังมิได้โกนจุก เรือนขอชำรุดทรุดโทรมลงมาก   หมื่นแกว่นภัยพาลจึงได้รื้อแล้วสร้างใหม่เป็นเรือนทรงมลิลา หลังคามุงสังกะสีเป็นหลังแรกของตำบลเมืองบางขลัง และนางแฉล้ม  จันทร์สิงห์  ได้รับเป็นมรดกสืบทอดต่อมาจากพ่ออีกทอดหนึ่ง  สมัยโบราณสตรีจะโกนจุกเมื่ออายุ 11 ขวบ ฉะนั้นอายุของเรือนหลังนี้สร้างเมื่อประมาณ 50 ปี ที่ผ่านมา    โดยคำนวนจากอายุของ  นางแฉล้ม   จันทร์สิงห์ อายุ 58 ปี หมื่นแกว่นภัยพาลสร้างเรือนหอทรงมลิลาเมื่อตอนเป็นเด็ก  นางแฉล้มไม่ได้โกนจุกแต่รู้ความแล้วอายุ 8-11 ปี ลบออกจากอายุปัจจุบันจะได้ผลรับเป็นอายุของเรือนหลังนี้  นอกจากนี้สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอกรมหมื่นนครสวรรค์วรพินิต  เสนาบดี   กระทรวงมหาดไทย ก่อน พ..2475 ได้เสด็จประพาสตำบลนาทุ่ง และประทานไม้เท้าประดับด้วยเงินมีปลอกโลหะเขียนเป็นตัวอักษรไทยว่า "ความชอบ 2471"  ปัจจุบันเป็นสมบัติของนางแฉล้ม จันทร์สิงห์  (สัมภาษณ์นางแฉล้ม  จันทร์สิงห์ อายุ 58 ปี บ้านเลขที่ หมู่ 4   บ้านขอนซุง ตำบลเมืองบางขลัง .5 ธันวาคม 2531) 
          การที่ยกตัวอย่างเรือนหมื่นแกว่นภัยพาลมาให้นักศึกษาเป็นกรณีตัวอย่างสำหรับการศึกษาประวัติศาสตร์ เมืองบางขลังนั้น  นักเรียนจะได้ทราบถึงพัฒนาการวัสดุในการมุงหลังคา เช่น หญ้าคาและแฝกนั้น นักเรียนควรศึกษาให้ทราบถึงการเตรียมเกี่ยว การตากหญ้าคาให้แห้งการสลัด การมัดเป็นกำมือ การรวมกำมือให้เป็นซอม แล้วขนซอมใส่ล้อใส่เกวียนเข้าไปเก็บไว้ จากนั้นเตรียมเชือกเขาเขียวหรือต้นคล้ามากรองหญ้าคาให้เป็นตับ แล้วนำไปมุงหลังคาเป็นวัสดุมุงหลังคาที่ทุกครัวเรือนของไพร่หรือราษฎรในมณฑลเชลียงเคยอยู่อาศัยมาหลายสูบ แต่ถ้าเป็นเรือนของชั้นผู้ปกครอง มีศักดินา จะสร้างเรือนโดยมุงหลังคาด้วยกระเบื้อง  เพื่อแสดงฐานะ

ขวัญเมืองบางขลัง   

     นายเรียบ สุขสัมพันธ์  เกิดเมื่อ พ.. 2468 ตรงกับนักบัตรปีฉลู อายุ 71 ปี ในพ..2539 บ้านเลขที่ 34 หมู่ที่ ตำบลบ้านซ่าน อำเภอศรีสำดรง เล่าให้ผู้สัมภาษณ์ทราบว่าเอกสารโรเนียวที่อาจารย์สาคร สุขสัมพันะ นำไปเผยแพร่ เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ..2536 นั้น มีรายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้
     นายเรียบ สุขสัมพันธ์ ให้สัมภาษณ์ว่า ปีพุทธศักราช 2447 ที่กล่าวว่าเป็นปีที่ชาวบ้านซ่านได้ไปอัญเชิญพระพุทธรูป พี่น้อง มาจากวัดโบสถ์ หมู่ที่ ตำบลเมืองบางขลังนั้น ได้ คำนวณจากอาจะของแม่กลิม (บุญเกตุสุขสัมพันธ์ มารดาของนายเรียบ แม่กล่อมเล่าให้นายเรียบฟังว่าได้ไปร่วมในขบวนอันเชิญพระพุทธรูป องค์นี้เมื่ออายุได้ 15 ปี แม่กล่อม สุขสัมพันธ์ ถึงแก่กรรม พ.. 2512 อายุได้ 80 ปี เมื่อคำนวณอายุเพื่อหาปีเกิดของแม่กล่อมแล้วจึงทราบว่า แม่กล่อมเกิด พ..2432 นักบัตรปีขาล จาก พ..2432 นับเพิ่มไปอีก 15 ปี จะตรงกับ พ..2447 และผู้สัมภาษณ์เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งว่าน่าเป็น พ..2447 เพราะหลังจากนี้อีก ปี คือวันที่ กุมภาพันธ์ 2450 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสวัดโบสถ์เมืองบางขลัง ทรงมีพระราชนิพนธ์ว่า ภายในมณฑปวัดโบสถ์นั้น พิจารณาดูเห็นท่าทางจะมีพระพุทธรูปนั่งประดิษฐานอยู่ (เที่ยวเมืองพระร่วง : 2526 หน้าที่ 130) เข้าใจว่าแท่นประดิษฐานคงยังไม่ถูกทำลายจากโจรปล้นพุทธศาสนาจึงทรงมีพระราชบันทึกไว้อย่างนั้น
     น่าดีใจยิ่งขึ้นเมื่อ นายเรียบ สุขสัมพันธ์ ให้สัมภาษณ์ว่าวัดบ้านซ่านใน พ..2447 มีพระอธิการพลอยเป็นเจ้าอาวาส นายเกตุ ต้นสกุล บุญเกตุ เป็นมรรคทายกราษฏรของวัดบ้านซ่านซึ่งเป็นผู้ตั้งเครื่องบวงสรวง ณ วัดโบสถ์ชื่อนางม่วง ในขณะที่นางม่วง ยังมีชีวิตอยู่จะเป็นผู้จุดธูปบอกกล่าวหลวงพ่อ พี่น้อง ในการแก้บนทุกวัน ตรุษไทยก่อนจะเคลื่อนขบวนแห่พระพุทธรูปเพื่อไปเยือนถิ่นเก่าเมืองบางขลังปัจจุบัน ทายาทสืบตระกูลจากนางม่วง ชื่อนางปั่น ทองมา จะเป็นตัวแทนราษฏรบอกกล่าวหลวงพ่อ พี่น้องเหมือนสมัยโบราณดังที่บรรพชนได้ปฏิบัติมาตั้งแต่ พ..2448 นับถึง 2539 ชาวตำบลบ้านซ่านได้จัดพิธีนี้เป็นครั้งที่ 91 ไม่เคยเว้นเคยขาดการปฏิบัติแม้แต่ปีเดียว แม่กล่อมซึ่งเป็นผู้เล่าเหตุการณ์ให้ลูกชายชื่อนายเรียบ สุขสัมพันธ์ ฟังนี้เป็นสตรีในสกุลบุญเกตุ นั้นคือพ่อใหญ่ แม่ใหญ่ของนายเรียบ สุขพันธ์ ชื่อนายเพ็ง นางกอง บุญเกตุ เป็นวงศ์ญาติของนายเกตุ ต้นสกุล บุญเกตุ ซึ่งเป็นมรรคทายกของวัดบ้านซ่าน ในพ.. 2447 ฉะนั้นจึงมีเหตุอันน่าเชื่อถือว่าแม่กล่อม สุขสัมพันธ์ เป็นผู้อยู่ใกล้ชิดกับเหตุการณ์อัญเชิญพระพุทธรูป พี่น้อง(ประทับนั่งปางมารวิชัย องค์ ประทับยืนปางห้ามญาติ องค์จากวัดโบสถ์เมืองบางขลังแห่งเดียวเท่านั้น มิได้อัญเชิญมาจากวัดนากลางตำบลเมืองบางขลัง ดังที่มีผู้บอกกล่าวเล่าลือในภายหลังแต่อย่างใด แม่กล่อมยังเล่าให้นายเรียบฟังอีกว่ามิได้อัญเชิญมาในวันตรุษไทย แต่เหตุที่บนบานบอกกล่าวหลวงพ่อ พี่น้อง ว่าจะแห่กลับเมืองบางขลังทุกวันครุษไทย เพราะเป็นช่วงฤดูเว้นว่างการทำไร่ ทำนา ราษฏรทุกผู้ทุกนามหยุดงานเพื่อไปบำเพ็ญบุญจึงถือเป็นวันดีในการอัญเชิญขึ้นขบวนล้อเกวียนแห่หลวงพ่อ พี่น้องไปเยือนถิ่นเดิม

     เพื่อเป็นการรื้อฟื้นสำนึกในด้านสถาปัตยกรรมสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สภาวัฒนธรรมจังหวัดสุโขทัยพระอธิการชัยวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดบ้านซ่อนและราษฏรชาวตำบลบ้านซ่านจึงมีความเห็นว่าวิหารซึ่งจะวางศิลากฤษ์โดยท่านเจ้าคุณพระราชวิทยาคมเถร (หลวงพ่อคูณแห่งวัดบ้านไร่ อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ในวันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2539 นี้ ควรเป็นรูปแบบของสถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัย จึงได้ติดต่อขอความอนุเคราะห์จากอาจารย์สมคิด  จิรทัศนกุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเคยมีผลงานออกแบบก่อสร้างอุโบสถวัดสะแล่ง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ สำเร็จอย่างสวยงามตามแบบโบราณแล้ว ให้เป็นผู้ออกแบบหลวงพ่อ พี่น้อง ให้กับวัดบ้านซ่าน นอกจากนั้นหน้าต่างก็จะออกแบบให้เหมือนวิหารพระพุทธชินราช เมืองพิษณุโลก หรือช่องหน้าต่างวิหารวัดนางพญา เมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมเมืองสุโขทัย ที่ยังคงเหลือหลักฐาน เป็นครูช่างของพวกเราในรุ่นปัจจุบันนี้ได้เป็นอย่างดี
     ภายหน้าวิหารหลวงพ่อ พี่น้องจะมีเพียงทางเข้าประตูเดียวเท่านั้น ภัยอันตรายที่ชาวบ้านหวาดกลัวก็จะหมดไป แถมยังได้แสงเงาแบบช่างโบราณอีกด้วยนั่นคือเมื่อเราเข้าไปนั่งในวิหารพระพุทธชินราช จะเห็นว่าองค์พระพุทธรูปแผ่รัศมีสะท้อนสีทองอร่ามในท่ามกลางเงามืดสลัวของวิหาร ช่างสมัยสุโขทัยนั้นเข้าใจเล่นแสงเงาเพิ่มศรัทธาให้กับผู้เข้าไปนมัสการมากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกัน หลักการก่อสร้างประกอบกับพระพุทธรูป พี่น้อง  เป็นปฏิมากรรมสมัยสุโขทัย และมีจารึกที่ฐานพระพุทธรูปเป็นอักษรสมัยสุโขทัยอีก บรรทัด ภายหลังวิหารสำเร็จเรียบร้อยแล้วชาวตำบลบ้านซ่าน ตำบลบ้านไร่ ตำบลราวต้นจันทร์ ตำบลนาขุนไกร ตำบลหนองกลับ และตำบลเมืองบางขลัง
      ผู้สัมภาษณ์ขอยกย่องสรรเสริญพ่อมั่ง สุขสัมพันธ์ แม่กล่อม (บุญเกตุสุขสัมพันธ์ ที่สั่งสมสำนึกประวัติศาสตร์ ส่งผ่านมายังลูกชายคนสุดท้อง คือ นายเรียบ สุขสัมพันธ์ เป็นอย่างสูง พ่อมั่งเป็นบุคคลผู้ให้ข้อมูลประวัติตระกูลต่าง ๆ ของตำบลบ้านไร่-บ้านซ่าน อำเภอศรีสำโรง ในหนังสือแจกเป็นธรรมบรรณาการในงานฌาปนกิจศพนายอ่อน สุขวงษ์ ณ ฌาปนสถานวัดบ้านไร่ อำเภอศรีสำโรง เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2508 และแม่กล่อมซึ่งเล่าเรื่องการอัญเชิญพระพุทธรูปพี่น้อง ให้นายเรียบ สุขสัมพันธ์ ฟังไว้เป็นข้อมูลอ้างอิง ถ้าหากไม่มีบุคคลดังกล่าวไว้นี้แล้ว พวกเราและอนุชนในอนาคตจะไม่ทราบความเป็นมาของชุมชนตรงนี้แน่ ก่อนยุติบทความนี้ผู้สัมภาษณ์อ้างคำปรารภของหนังสือ "สมุดไม่มีชื่อดังต่อไปนี้ "การสืบสายสกุลออกมานี้ประสงค์จะให้อนุชนผู้อยู่ในเครือญาติได้ทราบว่า สกุลของตนสืบเชื้อสายมาอย่างไรเกี่ยวพันกับสกุลใดบ้าง และมีใครบ้างเป็นญาติสืบสายโลหิตอันเดียวกันมากับตน เมื่อทราบแล้วจะได้เพิ่มความรักใคร่สมานสามัคคีซึ่งกันและกัน สงเคราะห์ช่วยเหลือกันในคราวจำเป็นไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน หากความประสงค์ของข้าพเจ้า (พระมหาบุญเรือง สุขวงษ์ วัดเทพธิดารามพระนคร 18 เมษายน 2508) นี้ สามารถโน้มน้าวจิตใจของท่านผู้อ่านให้นึกคิดอย่างนี้ได้ ก็จะเป็นเหตุนำความสงบสุขมาให้แก่หมู่คณะได้ตามสมควร(ที่มา สมุดไม่มีชื่อ. 2508 หน้า 4) ผู้สัมภาษณ์รอคอยที่จะเห็นชาติมาลา หรือค้ำพงศ์ ของตระกูลต่าง ๆ ดังที่ชาวตำบลบ้านซ่าน-บ้านไร่ บุกเบิกกรุยทางนำมาเป็นหมู่บ้านตำบลแรก ๆ ของจังหวัดสุโขทัย รองลงมาน่าจะได้แก่ พันเอกวิเชียร วงศ์วิเศษ ที่ได้รวบรวมหนังสือ "วงศ์ตระกูลสามแสน" ของชาวตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย เป็นเอกสารอ้างอิงเป็นรายที่ ของจังหวัดสุโขทัย เมื่อ  พ..2515
     อยากเห็นพลังสามัคคีของตระกูลทั้งหลายซึ่งเกี่ยวดองกันเป็นหมู่บ้าน ตำบลและรวมกลุ่มขึ้นเป็นกิ่งอำเภอเมืองบางขลังในเร็ว ๆ นี้จังเลย









ระบำดอกเข็มเมืองบางขลัง

หลักการและเหตุผล

     เมื่อ พ..1913 หรือ 626 ปีที่ผ่านมา พระมหาสมณเถรภิกษุชาวกรุงสุโขทัยได้พบพระธาตุซึ่งฝังดินอยู่ใต้กอดอกเข็มบริเวณเมืองบางขลัง ปัจจุบันคือตำบลเมืองบางขลัง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย เมื่อพบแล้วจึงนำพระธาตุไปถวายพระเจ้ากือนาแห่งนครเชียงใหม่  พระองค์โปรดเกล้าฯ อัญเชิญพระธาตสถิตย์เหนือข้างพระที่นั่งเพื่อเสี่ยงทายสถานที่สร้างพระสถูป  ข้างพระที่นั่งดำเนินออกจากเวียงเชียงใหม่และสิ้นใจตายบนยอดดอยสุเทพ พระเจ้ากือนาจึงมีพระราชกระแสให้ขุดอุโมงค์ฝังพระธาตุแล้วสร้าง พระสถูปถวายไว้เป็นปูชนียสถาน เดี๋ยวนี้คือวัดพระธาตุดอยสุเทพ ฉะนั้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงบุปผาชาติซึ่งเป็นที่มาของการค้นพบพระธาตุบริเวณเมืองบางขลังจึงสมมุติให้ดอกเข็มทั้ง สี เป็นตัวแทนของ อำเภอในจังหวัดสุโขทัย ส่วนผ้าสะไบที่มีสีเหลือง สีเขียว สีแดง นั้นนำมาจากแถบสีของธงประจำจังหวัดสุโขทัย การกำหนดให้ระบำดอกเข็มเมืองบางขลัง ถือช่อดอกเข็มมีความมุ่งหมายถึงการบูชาพระพุทธองค์ผู้เป็นครูคนแรกของชาวไทย

วัตถุประสงค์

     เพื่อรื้อฟื้นชื่อเมืองโบราณที่ตั้งอยู่ริมถนนพระร่วงระหว่างกรุงสุโขทัยและ นครศรีสัชนาลัย นอกจากนี้เพื่อส่งเสริมประชาสัมพันธ์ให้ดอกเข็มที่ชาวไทยเคารพนับถือนิยมว่าเป็นดอกไม้สำหรับบูชาครูเป็นบุปผาชาติประจำจังหวัดสุโขทัย
     
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

     นักท่องเที่ยวรู้จักชื่อเมืองโบราณซึ่งบันทึกอยู่ในศิลาจารึกสมัยสุโขทัย นอกจากนี้ยังเป็นการประชาสมพันธ์ให้แขกต่างบ้านต่างเมืองรู้จักบุปผาชาติประจำจังหวัดสุโขทัยและสีของธงประจำจังหวัด

ขอบเขตและเนื้อหา

     1. ควรใช้ผู้แสดง คนห่มผ้าสะไบสีละ คน รวมเป็น คน
     2. ดอกเข็ม สมมุติให้ใช้สีต่าง ๆ เพื่อเป็นตัวแทนของแต่ละอำเภอ ๆ ละ สี   รวม ชนิด/สี

     3. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งเดิมทรงกรมว่าสมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดช กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชาและทรงเป็นเจ้าของพระตำหนักวังสุโขทัย พระมหากษัตริย์พระองค์นี้ทรงชื่นชมกับคำว่า สุโขทัย มากแม้คำจารึกในพระสุพรรณบัตรขณะขึ้นครองราชสมบัติก็ยังปรากฎคำว่า สุโขทัยธรรมราชา ในวรรคที่ 11 อีกด้วย นอกจากนั้น ในวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันจะมีพระชนมายุครบ 72 พรรษาจึงเป็นวโรกาสอันเป็นมงคลอย่างยิ่งที่จะเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ แห่งราชวงศ์จักรีให้อนุชนทราบว่าพระนาม ภูมิพลอดุลยเดชและสิริกิติ์ นั้น รัชกาลที่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามให้รัชกาลที่ และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาท จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะใช้เพลงพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ชื่อเพลง เขมรละออองค์เป็นเพลงหลักในการประดิษฐ์ท่ารำระบำดอกเข็มเมืองบางขลัง ประกอบกับเมืองบางขลังเกี่ยวข้องกับการขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพงออกไปจากเมืองสุโขทัย  ดนตรีซึ่งมีอิทธิพลในขณะนั้นคงจะเป็นเพลงสำเนียงเขมรดังอ้าง
     4. เครื่องดนตรีที่ปรากฎในศิลาจารึกหลักที่ 62 วัดพระยืน จังหวัดลำพูนซึ่งมีเนื้อความ กล่าวถึงการอัญเชิญพระธาตุดอกสุเทพออกจากเมืองศรีสัชนาลัยไปเวียงเชียวใหม่ ควรมีส่วนในการประโคมขึ้นเป็นเพลงของระบำดอกเข็มเมืองบางขลังนี้ด้วย
     5. ส่งเสริมให้มีการผลิตช่อดอกเข็มสีต่างๆ จากวัสดุพื้นบ้าน เช่น กระดาษสา ฯลฯ สำหรับกลัดติดหน้าอกผู้มาเยือนจังหวัดสุโขทัยหรือจำหน่ายเป็นของที่ระลึกของจังหวัดสุโขทัย อีกชนิดหนึ่ง


                                        สมชาย  เดือนเพ็ญ
                                        นักวิชาการพัฒนาชุมชน
                                        สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด
                                        ศาลากลางจังหวัดสุโขทัย
                                             14 พฤศจิกายน 2539









ดอกเข็มและประวัติศาสตร์เมืองบางขลัง

          เมืองบางขลังปัจจุบันเป็นชื่อชุมชน ตั้งอยู่ริมลำน้ำฝากระดาน มีชุมชนใหญ่ ๆ  ชุมชน คือ ตำบลหนองกลับ และตำบลเมืองบางขลัง อยู่ในความปกครองของอำเภอ สวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย 
          เมืองบางขลังเป็นชุมชนเก่าแก่รวมสมัยกับเมืองเชลียง   มีอายุระหว่าง 700 ปี  ถึง 1,000 ปีขึ้นไป ตั้งอยู่ริมลำน้ำฝากระดานซึ่งมีต้นกำเนิดลำน้ำมาจากตำบลเวียงมอก อำเภอเถิน  จังหวัดลำปาง  ดังปรากฎหลักฐานทางประวัติศาสตร์อยู่ในศิลาจารึกสุโขทัย   หลักที่ 2  วัดศรีชุม ด้านที่ บรรทัดที่ 24 เป็นเรื่องการขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพงออกจากเมืองสุโขทัยศิลาจารึกบรรยายว่า พ่อขุนผาเมืองตีได้เมืองบางขลังและสุโขทัยได้แล้ว    จึงสถาปนาพ่อขุนบางกลางหาวให้เป็นพ่อขุน
ศรีอินทราทิตย์ ปฐมกษัตริย์ครองกรุงสุโขทัย ดังนี้

          ศิลาจารึก บรรทัดที่ 23               พ่อขุนผาเมืองเจ้าเมืองราดเอาพลมา
          ศิลาจารึก บรรทัดที่ 24               ตบกันที่บางขลง  ได้เวนบางขลงแก่พ่อขุนผาเมือง 
                                                             แล้วพ่อขุนผาเมืองได้เอาพลเมือ เมืองราดเมืองสคา

(ที่มา ดรรชนีค้นคำในศิลาจารึกสุโขทัย หน้า 102 กับจารึกสมัยสุโขทัย หน้า 63)

          นอกจากนี้ศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ วัดศรีชุม ด้านที่ บรรทัดที่ บรรยายว่า  สมเด็จพระศรีศรัทธาราชจุฬามุนี เสด็จออกบวชแล้วจาริกแสวงบุญไปยังปูชนียสถานต่าง ๆ โดยเริ่มต้นจากเมืองสุโขทัย ไปเมืองบางขลัง แล้วถึงเมืองศรีสัชนาลัย(จารึกสมัยสุโขทัย หน้า 72) แสดงให้เห็นว่า เมืองโบราณอยู่ริมถนนพระร่วงระหว่างสุโขทัยและเมืองศรีสัชนาลัยจะเป็นเมืองอื่นใดมิได้ นอกจากเมืองบางขลัง
          ศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ ด้านที่ บรรทัดที่ 22 บรรยายว่า  หลังจากสมัยพ่อขุนรามคำแหงแล้ว เจ้าเมืองต่าง ๆ ตั้งตนเป็นอิสระ รวมทั้งเมืองบางขลังด้วย  ดังจารึกต่อไปนี้  

"เมืองบางฉลังหาเป็นขุนหนึ่ง"

ที่มา :  จารึกสมัยสุโขทัย หน้า 37 

          ประวัติศาสตร์นิพนธ์ล้านนาประกอบไปด้วย1.หนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ 2.ตำนานมูลศาสนา  3.ตำนานวัดพระธาตุดอยสุเทพ 4. ตำนานวัดบุปผาราม (วัดสวนดอก) 5.พงศาวดารโยนก ต่างบันทึกถึงประวัติการค้นพบพระธาตุใต้กอดอกเข็มบริเวณเมืองโบราณ  ที่อยู่ระหว่างเมืองศรีสัชนาลัยกับเมืองสุโขทัย (สงวน โชติสุขรัตน์ หน้า 22-29 และอนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพพระเทพวิสุทธาจารย์ พ.. 2525 ไม่ปรากฎเลขหน้า) ผู้เขียนตรวจดูจดหมายเหตุล้านนาที่พูดถึงดอกเข็ม  อันเป็นสถานที่บรรจุพระธาตุ ณ เมืองบางขลัง ก่อนที่พระมหาสุมนเถรจะอาราธนาขึ้นมาจากพื้นปฐพีแล้วไม่ปรากฎว่าเป็นต้นดอกเข็มสีอะไร เพื่อเป็นการเชิดชูพระพุทธศาสนา จังหวัดสุโขทัย  สมควรกำหนดให้ดอกเข็มสีเหลืองอันเป็นสีแห่งผ้ากาสาวพัตร์ของสาวกพระพุทธองค์เป็นดอกไม้ประจำจังหวัด นายสมชาย  เดือนเพ็ญได้เสนอให้ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดสุโขทัย เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.. 2534 รับไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ต่อไปแล้ว นอกจากนั้นดอกเข็มยังเป็นดอกไม้มงคล ประเพณีไทยนิยมนำไปสักการะครูบาอาจารย์มาแต่โบราณ จึงเป็นการเหมาะสมอย่างยิ่ง  ที่จะให้ดอกเข็มเป็นดอกไม้ประจำจังหวัด  ประการสำคัญเกียรติยศนี้เป็นของชาวเมืองบางขลังผู้เป็นเจ้าของเรื่องราวบุปผาชาติประจำจังหวัดสุโขทัย

1 ความคิดเห็น:

  1. Casinos Near Foxwoods Casino in New York City - Mapyro
    1 전라남도 출장샵 Mohegan Sun Blvd, 김제 출장안마 Uncasville, CT 06382. 영주 출장마사지 Directions · (860) 세종특별자치 출장샵 317-5000. Call Now · 김해 출장샵 Full menu · More Info. Hours, Accepts Credit Cards, Accepts

    ตอบลบ